1. ประเภทวิชาอุตสาหกรรม


1.1 สาขาวิชา ช่างกลโรงงาน


อดีตช่างมัน ปัจจุบันช่างกล!!

ช่างกลโรงงาน เป็นหลักสูตรเน้นฝึกทักษะด้านการผลิตและซ่อมบำรุงเป็นหลัก ด้วยเครื่องจักรกลที่หลากหลาย เกี่ยวข้องกับเครื่องกลภายในโรงงาน หรือเครื่องยนต์ที่มีขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็นเครื่องกลึง, เครื่องกัด, เครื่องไส, เครื่องเจียระไน เป็นต้น โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสาขาช่างกลโรงงาน ให้ความสำคัญการฝึกปฏิบัติควบคู่กับทฤษฎี โดยเน้นการให้ความรู้และทักษะต่างๆแก่นักเรียน นักศึกษา

การประกอบอาชีพ

  1. เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์เครื่องกลต่างๆ ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตกับผู้ประกอบการระดับมาตรฐาน ทำงานเกี่ยวกับ
  2. ผู้ช่วยวิศวกรโรงงาน
  3. พนักงานตรวจซ่อมเครื่องกลประจำโรงงาน 
  4. ช่างติดตั้งอุปกรณ์เครื่องกลต่างๆเกี่ยวกับการดูแลซ่อมบำรุง การติดตั้งเครื่องจักรในอาคารและโรงงาน ติดตั้งเครื่องมือเครื่องจักรอัตโนมัติ

การศึกษาต่อ

จบการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 4 ปี) สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน

จบการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี (หลักสูตรเทียบโอน 2 ปี) สาขาวิชาอุตสาหการในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน

จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่าในสาขาวิศวกรรมอุตสาหการหรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งใน และต่างประเทศ

1.2 สาขาวิชา ช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์


Hacker @ DKTTC

ช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์ เรียนเกี่ยวกับ พื้นฐานวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ของระบบคอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรม การใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ การเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ พัฒนาระบบ IOT (Internet of Things), AI (Artificial Intelligence) การซ่อม ติดตั้ง และประกอบคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ ดูแลระบบเครือข่าย

การประกอบอาชีพ

  1. นักปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
  2. ช่างคอมพิวเตอร์
  3. ผู้ประกอบธุรกิจคอมพิวเตอร์
  4. ผู้สอนคอมพิวเตอร์
  5. นักพัฒนาระบบเขียนโปรแกรม, IOT (Internet of Things), AI (Artificial Intelligence), สร้างเกมส์
  6. นักพัฒนาเว็บไซต์ นักแคสเกมส์
  7. เจ้าของกิจการร้านขายคอมพิวเตอร์ เจ้าของกิจการร้านคอมพิวเตอร์ และอื่น ๆ

การศึกษาต่อ

จบการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 4 ปี) สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน

จบการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี (หลักสูตรเทียบโอน 2 ปี) สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน

จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่าในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์หรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งใน และต่างประเทศ

1.3 สาขาวิชา ช่างยนต์


ช่างยนต์ งานจักรยานยนต์ งานเครื่องยนต์เล็ก งานเครื่องยนต์เบนซิน งานเครื่องยนต์ดีเซล งานส่งกำลังรถยนต์ งานเครื่องล่างรถยนต์ งานไฟฟ้ารถยนต์ งานเครื่องปรับอากาศรถยนต์   งานสีรถยนต์ งานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ การขับรถยนต์ งานบำรุงรักษารถยนต์

การประกอบอาชีพ

  1. ปฏิบัติงานภายใต้การแนะนำ และควบคุมของวิศวกรเครื่องกลรถยนต์
  2. ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการประกอบ ติดตั้ง อุปกรณ์รถยนต์ ระบบเครื่องยนต์

การศึกษาต่อ

จบการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 4 ปี) สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน

จบการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี (หลักสูตรเทียบโอน 2 ปี) สาขาวิชาเครื่องกลในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน

จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่าในสาขาวิศวกรรมเครื่องกลหรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งใน และต่างประเทศ

1.4 สาขาวิชา ช่างไฟฟ้ากำลัง


ช่างไฟฟ้ากำลัง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น คอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ การติดตั้งไฟฟ้าในอาคาร และในโรงงาน เครื่องมือวัดไฟฟ้า การควบคุมเครื่องกลไฟฟ้า ดิจิตอลเบื้องต้น ไมโครโปรเซสเซอร์เบื้องต้น การบริการและซ่อมเครื่องไฟฟ้า เครื่องทำความเย็น หม้อแปลงไฟฟ้า นิวเมติกส์ และไฮดรอลิกส์เบื้องต้น และมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ

การประกอบอาชีพ

  1. ช่างเทคนิคติดตั้งระบบไฟฟ้าในอาคาร และโรงงานอุตสาหกรรม
  2. นักออกแบบระบบไฟฟ้าในอาคาร และเครื่องจักรกลไฟฟ้า
  3. นักวิเคราะห์ และซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้าในงานอุตสาหกรรม
  4. ช่างเทคนิคควบคุมระบบเครื่องจักรในงานอุตสาหกรรม
  5. ช่างทดสอบอุปกรณ์ และเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า
  6. ช่างปีนเสาไฟฟ้า

การศึกษาต่อ

จบการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 4 ปี) สาขาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง ในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน

จบการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี (หลักสูตรเทียบโอน 2 ปี) สาขาวิชาไฟฟ้ากำลังในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน

จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่าในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลังหรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งใน และต่างประเทศ

1.5 สาขาวิชา ช่างอิเล็กทรอนิกส์


ฝีมือดี   มีวินัย   ใฝ่ความรู้คู่คุณธรรม   ก้าวล้ำเทคโนโลยี

ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ศึกษาวงจรไฟฟ้าเบื้องต้นและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ศึกษาการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีระบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง วิทยุ กล้องวงจรปิด จานดาวเทียม ระบบโทรศัพท์ภายใน ฝึกปฏิบัติการซ่อมบำรุงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การออกแบบและสร้างวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ศึกษาการเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัยผ่านระบบ IOT และศึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่างๆที่ใช้ตรวจรู้เพื่อควบคุมระบบโรงงานอัตโนมัติ

การประกอบอาชีพ

  1. งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ ประเภทการสื่อสารโทรคมนาคม โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต
  2. งานอุตสาหกรรม ซ่อมบำรุงหุ่นยนต์ เครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์
  3. งานธุรกิจดาวเทียม โทรทัศน์ วิทยุ กล้องวงจรปิด CCTV
  4. งานระบบ แสง สี เสียง ร้านจำหน่ายและใช้เช้าเครื่องเสียง
  5. เจ้าของธุรกิจ ร้านช่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

การศึกษาต่อ

จบการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 4 ปี) สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน

จบการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี (หลักสูตรเทียบโอน 2 ปี) สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน

จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่าในสาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์หรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งใน และต่างประเทศ

ประเภทวิชาพาณิชยกรรม


2.1 สาขาวิชา การตลาด


เรียนรู้อย่างสนุก มีความสุขกับการปฏิบัติจริง

การตลาด คือ สาขาวิชาที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ พัฒนาผู้เรียนให้มีความเข้าใจ และความรู้ด้านการจัดการการตลาด ด้านการวิเคราะห์ การวิจัย การวางแผนกิจกรรมทางการตลาดแบบบูรณาการ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เน้นการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีทางการตลาดและธุรกิจสมัยใหม่ และจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ในรายวิชาโดยวิทยากรภายนอกหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการตลาด กิจกรรมการเรียนการสอนที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการส่งเสริมความเชี่ยวชาญให้ผู้เรียน สร้างประสบการณ์ตรงและรายได้ในระหว่างศึกษา โดยเน้นให้นักศึกษาได้ปฏิบัติงานจริงภายใต้สภาพแวดล้อมทางการแข่งขันของธุรกิจในปัจจุบัน เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินงานด้านการตลาดในองค์กรธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ

การประกอบอาชีพ

  1. ผู้ประกอบการ ครู หรือ อาจารย์ ประจำสาขาวิชาการตลาด 
  2. นักการตลาดออนไลน์ 
  3. นักออกแบบผลิตภัณฑ์ 
  4. พนักงานขาย 
  5. นักประชาสัมพันธ์ 
  6. นักบริหารจัดการการตลาดแบบเน้นเนื้อหา 
  7. นักวางแผนกลยุทธ์การตลาดบูรณาการ 
  8. นักบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า 
  9. นักออกแบบเนื้อหาและโฆษณาการตลาด 
  10. นักวิจัยการตลาด 
  11. นักสร้างแบรนด์ดิจิทัลนักวางกลยุทธ์แบรนด์ดิจิทัล 
  12. นักวางแผนกลยุทธ์สื่อดิจิทัล 
  13. เจ้าหน้าที่บริหารงานลูกค้า 
  14. ธุรกิจโฆษณาและสื่อดิจิทัล 
  15. นักวิเคราะห์และวางแผนข้อมูลการตลาดและผู้บริโภค

การศึกษาต่อ

จบการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 4 ปี) สาขาการตลาด ในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน

จบการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี (หลักสูตรเทียบโอน 2 ปี) สาขาวิชาการตลาดในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน

จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่าในสาขาการตลาดหรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งใน และต่างประเทศ

2.2 สาขาวิชา การบัญชี


เรียนบัญชี เงินดี งานดี ไม่มีตกงาน

การบัญชี จัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีความทันสมัย มุ่งสร้างผู้สำเร็จการศึกษา ให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญ โดยศึกษาเกี่ยวกับหลักการบัญชีและมาตรฐานการบัญชี การจัดทำบัญชีการเงิน การวางระบบบัญชี การบัญชีกิจการอุตสาหกรรม ระบบบัญชีธนาคาร การบัญชีหน่วยงานภาครัฐ การบัญชีสำหรับธุรกิจบริการโรงแรม อสังหาริมทรัพย์ และรับเหมาก่อสร้าง วิชาชีพการสอบบัญชี การตรวจสอบและควบคุมภายใน กฎหมายภาษีและการบัญชีภาษีอากร การวิเคราะห์รายงานการเงิน การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ทางงานบัญชีและเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ในการวิเคราะห์และแปลความหมายของข้อมูลทางบัญชีและการเงิน การทำงบการเงินของสถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน

การประกอบอาชีพ

  1. รับราชการหน่วยงานต่างๆ เช่น อบต. , อบจ. ,สนง.คลังจังหวัด , สตง. , กรมสรรพกร
  2. เจ้าหน้าที่บัญชีและการเงินภาครัฐ และเอกชน
  3. รับราชการครู/ครูสอนบัญชีโรงเรียนเอกชน
  4. ประกอบอาชีพอิสระ/รับทำบัญชี
  5. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
  6. ที่ปรึกษาทางบัญชี/ที่ปรึกษาภาษีอากร
  7. นักวางแผนทางการเงิน
  8. ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี
  9. พนักงานธนาคาร                                     
  10. รับวางระบบบัญชี/รับเขียนโปรแกรมบัญชี
  11. เป็นวิทยากรสอนวิชาบัญชี – ภาษีอากร
  12. ธุรกิจส่วนตัว

การศึกษาต่อ

จบการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 4 ปี) สาขาวิชาการบัญชี ในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน

จบการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี (หลักสูตรเทียบโอน 2 ปี) สาขาวิชาการบัญชีในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน

จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่าในสาขาการบัญชีหรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งใน และต่างประเทศ